ชื่อปริญญา
วิทยาศาสตรบัณฑิต (กายภาพบำบัด)
Bachelor of Science (Physical Therapy)
วท.บ. (กายภาพบำบัด)
B.Sc. (Physical Therapy)
จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
1. มุ่งผลิตนักกายภาพบำบัดที่มีสมรรถนะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิปริญญาตรี สาขากายภาพบำบัด สามารถจัดการทางกายภาพบำบัดแบบองค์รวม และบูรณาการกับสหวิทยาการในการสร้างเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูในทุกช่วงวัยทั้งในและนอกโรงพยาบาลโดยอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ มีความรู้ทักษะกายภาพบำบัดในแขนงที่สนใจเพิ่มขึ้น พร้อมด้วยจิตวิญญาณการเป็นผู้ประกอบการที่มีหัวใจ มีภาวะการนำ มีความมุ่งมั่นในการริเริ่มสร้างสรรค์รูปแบบการบริการทางกายภาพบำบัดที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
2. มุ่งเน้นให้บัณฑิตมีมุมมองกว้างไกล สามารถคิดได้อย่างมีเหตุผล สามารถกลั่นกรองข้อมูล มีความสามารถในการสื่อสาร มีจิตใจในการให้บริการผู้ป่วย มีจิตสาธารณะ มีทักษะการใช้และเท่าทันสื่อเทคโนโลยี มีความตระหนักในคุณธรรม จริยธรรม ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุคคลอื่นในสังคม อันเป็นรากฐานของการศึกษาเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
3. มุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความรู้ และทักษะในการให้บริการกายภาพบำบัดแบบองค์รวม มีแนวคิดในการวางแผนการรักษาผู้ป่วยแบบเป็นระบบ ตั้งแต่การตรวจ วินิจฉัย รักษา การส่งเสริม ป้องกันโรค และการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ รวมทั้งพยากรณ์ และติดตามผลการรักษาอย่างเป็นระบบ ผ่านการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา และมีทางเลือกใหม่สำหรับการพัฒนาประสบการณ์เฉพาะในเรื่องการเป็นผู้ประกอบการ การออกแบบโปรแกรมการดูแลผู้สูงอายุ และกายภาพบำบัดทางการกีฬา
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
รายละเอียดหลักสูตรสาขากายภาพบำบัด >>> คลิก
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต
(วิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและสมรรถภาพทางการกีฬา)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Science (Exercise Science and Sports Performance)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.บ. (วิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและสมรรถภาพทางการกีฬา)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Sc. (Exercise Science and Sports Performance)
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
รายละเอียดหลักสูตรสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและสมรรถภาพทางการกีฬา >>> คลิก
ชื่อปริญญา
วิทยาศาสตรบัณฑิต (ชรัณสุขศาสตร์)
Bachelor of Science (Gerontology)
วท.บ. (ชรัณสุขศาสตร์)
B.Sc. (Gerontology)
จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
1. บัณฑิตมีความรู้ด้านสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุโดยผสมผสาน ความรู้ทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ บริหารธุรกิจ ภาษาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สุขภาพ ร่วมกับนำภูมิปัญญาของผู้สูงอายุในมิติต่าง ๆ เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
2. บัณฑิตมีทักษะในการช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพมาตรฐาน และปลอดภัยในระดับสากล อย่างครอบคลุมทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสภาพร่างกาย ในผู้สูงอายุติดสังคม ติดบ้าน และผู้สูงอายุติดเตียง ทั้งในผู้สูงอายุที่มีความเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคสมองเสื่อม และในผู้ที่มีความพิการทุกกลุ่ม มีความสามารถให้คำแนะนำ ปรึกษาด้านสุขภาพ และการดำเนินชีวิตประจำวัน กับวัยกลางคน ผู้สูงอายุ และญาติ
3.บัณฑิตมีทักษะการทำงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ การจัดโครงการบริการสุขภาพ รวมทั้งการสร้างงานและการบริการรูปแบบอื่น ๆ มีทักษะการใช้เทคโนโลยี และสร้างนวัตกรรมเพื่อการ จัดการสุขภาพในผู้สูงอายุ
4. บัณฑิตมีความสามารถสื่อสารด้วยภาษาหลากหลายวัฒนธรรม และสามารถให้การช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมด้วยความเข้าใจ
5. บัณฑิตมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นและมีความซื่อสัตย์ ขยัน อดทน ในการปฏิบัติงานเป็นที่ไว้วางใจของผู้สูงอายุและครอบครัว นายจ้าง และเพื่อนร่วมงาน
6. บัณฑิตมีสำนึกของผู้ประกอบการเพื่อสังคม สร้างสรรค์บริการที่เอื้อประโยชน์ต่อมวลชน
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า และมหาวิทยาลัยพิจารณาแล้วเห็นสมควรเข้ารับศึกษา
2. มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือมีความผิดปกติอื่น ๆที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
3. มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPA) ไม่ต่ำกว่า 2.00
รายละเอียดหลักสูตรสาขาชรัณสุขศาสตร์ >>> คลิก
การวัดผลและสำเร็จการศึกษา
1. การวัดผล ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยรังสิต ว่าด้วย การศึกษาระดับปริญญาตรีพ.ศ. 2550 ดังนี้
1.1 มหาวิทยาลัยดำเนินการวัดผลและประเมินผลแต่ละรายวิชาที่นักศึกษาได้ลงทะเบียนเรียนในทุกภาคการศึกษา การวัดและการประเมินผลอาจกระทำได้โดยการสอบ หรือวิธีอื่นๆที่คณะ/วิทยาลัยเจ้าของรายวิชากำหนด
1.2 ดำเนินการวัดผลระหว่างภาคการศึกษาเป็นระยะๆอย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 ครั้งและมีการวัดผลปลายภาคการศึกษาอย่างน้อยอีกภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง
1.3 ทุกรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียน นักศึกษาต้องมีเวลาศึกษา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาศึกษาทั้งหมด หรือได้ทำงานในรายวิชานั้นจนเพียงพอตามที่อาจารย์ผู้สอนกำหนด จึงมีสิทธิ์ได้รับการประเมินผล
1.4 การประเมินผลการศึกษา
การประเมินผลการศึกษาในแต่ละรายวิชา ให้ประเมินเป็นแต้มระดับคะแนน (Numeric Grades) หรือ ระดับคะแนนตัวอักษร (Letter Grades) และสัญลักษณ์ที่ไม่มีค่าระดับคะแนน ดังต่อไปนี้
1.4.1 แต้มระดับคะแนนมี 8 ระดับดังต่อไปนี้
ระดับคะแนนตัวอักษร | แต้มระดับคะแนน | ความหมาย |
---|---|---|
A | 4.0 | ดีเยี่ยม (Excellent) |
B+ | 3.5 | ดีมาก (Very Good) |
B | 3.0 | ดี (Good) |
C+ | 2.5 | ปานกลาง (Fairly Good) |
C | 2.0 | พอใช้ (Fair) |
D+ | 1.5 | อ่อน (Poor) |
D | 1.0 | อ่อนมาก (Minimum Passing) |
F | 0.0 | ตก (Failur) |
1.4.2 สัญลักษณ์ที่ไม่มีค่าระดับคะแนน มีความหมายดังนี้
สัญลักษณ์ | ความหมาย |
---|---|
I | ยังไม่สมบูรณ์ (Incomplete) |
S | พอใจ (Satisfactory) หรือผลการศึกษาอยู่ในระดับขั้นตั้งแต่ C ขึ้นไปนับหน่วยกิตเป็นหน่วยกิตสะสมได้ |
U | ไม่พอใจ (Unsatisfactory) หรือผลการศึกษาอยู่ในขั้นอ่อนมาก นับหน่วยกิตเป็นหน่วยกิตสะสมไม่ได้ |
W | การเพิกถอนรายวิชา (Withdrawn) |
IP | การศึกษายังไม่สิ้นสุด (In-Progress) |
CS | การเทียบโอนผลการเรียนจากการทดสอบมาตรฐาน (Credits from Standardized Test) |
CE | การเทียบโอนผลการเรียนจากการทดสอบที่ไม่ใช่การทดสอบมาตรฐาน (Credits from Exam) |
CT | การเทียบโอนผลการเรียนจากการประเมินการศึกษา/อบรมที่จัดโดยหน่วยงานอื่นๆ (Credits from Training) |
CP | การเทียบโอนผลการเรียนจากแฟ้มสะสมผลการเรียนรู้มาก่อน (Credits from Portfolio) |
2. กระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา
2.1 มีการแบ่งกลุ่มวิชาเพื่อพิจารณาเนื้อหา กระบวนการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล ที่ดำเนินการโดยอาจารย์ประสานงานวิชา
2.2 มีคณะกรรมการวิชาการทำหน้าที่กำกับติดตามการดำเนินงานของกลุ่มวิชา
2.3 มีคณะกรรมการประจำคณะทำหน้าที่พิจารณาตัดสินผลก่อนเสนอคณะกรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการ และพิจารณาคุณวุฒิอาจารย์พิเศษให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสภากายภาพบำบัด
2.4 มีคณะกรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ทำหน้าที่กำกับติดตามการดำเนินงานของคณะทั้งในด้านเนื้อหา กระบวนการจัดการเรียนการสอน และการประเมินผล
3. เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
3.1 หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี สำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน 6 ภาคการศึกษาปกติ
3.2 เรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
3.3 มีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสมสม (CGPA) ไม่ต่ำกว่า 2.00 ตลอดจนแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยวิชาชีพ ไม่ต่ำกว่า 2.00
3.4 การให้อนุปริญญาเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรปริญญาตรี
3.4.1 เป็นผู้ที่สอบไล่ได้ครบทุกลักษณะวิชาตามหลักสูตรระดับปริญญาตรี ภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด
3.4.2 ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรต่ำกว่า 2.00 แต่ไม่ต่ำกว่า 1.75
3.4.3 ไม่อยู่ในระหว่างการรับโทษหรือรอรับโทษทางวินัย
3.4.4 ได้ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ของมหาวิทยาลัยครบถ้วน
3.4.5 ได้ดำเนินการเพื่อขอรับอนุปริญญาตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด