การทำงานกีฬามหาวิทยาลัย สุรนารีเกมส์ในช่วงเวลาสั้นๆ เพียง 5 วัน ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ทำให้เราได้บทสรุปที่อยากแชร์ดังนี้
1. การรักษาผู้ป่วยที่เป็นนักกีฬา ต้องทำให้เขาหายกลับเข้าสู่สนามให้เร็วที่สุด จำเป็นจะต้องดูทั้ง 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นโครงสร้างที่เป็น passive และ active หรือบางทฤษฎีบอกว่า ดูทั้ง form closure และ force closure เช่น นักกีฬาที่มีปัญหา ข้อเท้าพลิก นอกจากจะดูแลตำแหน่งที่มีการฉีกขาดแล้ว ยังต้องดูแลเรื่องกล้ามเนื้อที่มีการเกร็งตัวโดยรอบ เช่น tibilalis posterior, peroneus group ด้วย นักกีฬาที่มีปัญหาไหล่หลุด นอกจากจัดให้หัวไหล่เข้าที่แล้ว ยังต้องลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อคอ และกล้ามเนื้อรอบสะบักด้วย อาการปวดจึงลดลงได้อย่างรวดเร็ว
2. ทุกครั้งที่มีอุบัติเหตุทางกีฬา มักจะมีการเคลื่อนที่ของกระดูกเล็กๆ น้อยๆ ที่เกี่ยวข้อง ก่อนจะ immobilization ควรจัดกระดูก หรือโครงสร้างต่างๆ ให้เข้าที่ก่อน
3. biomechanic สำคัญจริงๆ ในการวินิจฉัยข้างสนามให้รวดเร็ว บางครั้งเจ็บข้อมือ เราต้องมานั่งคิดว่า กล้ามเนื้ออะไรมาเกาะที่นั่นบ้าง เพราะหลายครั้งแล้วที่ทำ US ที่บริเวณ เอ็นข้อมือที่เราคิดว่ามีการปริขาด แต่ไม่เคยคิดว่าทำไมมันจึงปริขาด โดยไม่มีการกระแทกมาก่อน มาเป็น Physio therapy ที่ใช้ทั้ง Physio และ biomechanic กันเถอะ อย่าเป็น ultrasounder กันเลย
4. บางครั้งที่การทำงานของกล้ามเนื้อผิดปกติไป อาจไม่ใช่เพราะกล้ามเนื้อไม่มีแรง แต่กล้ามเนื้อไม่ได้ถูก activate ขึ้นมาใช้งาน เพราะการออกกำลังกายเพียงแค่ครั้งเดียว ไม่สามารถทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นได้ แต่ปรากฏว่านักกีฬายูโน๊ะกาตาของ ม.รังสิต สามารถทำท่าได้สวยขึ้น เป็นเพราะ นักกายภาพบำบัดรู้วิธีการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อที่หลับไหล ขึ้นมาทำงานได้ในเวลาที่ถูกต้อง......ข้อนี้ต้องให้เครดิตอ.อภิญญ์การย์เลยจ้า นางกระตุ้นกล้ามเนื้อ core stabilizer ได้ด้วยการออกกำลังกายเพียงครั้งเดียว
5. การทำงานเล็กๆ ในที่ของเรา ไม่มีตากล้องส่วนตัว ที่คิดว่า งานนี้เราไม่มีรูปแน่นอน แต่ไม่น่าเชื่อว่ายังมีคนเห็นการทำงานของเรา แอบถ่ายได้รูปสวยๆ หลายรูป ....ขอบคุณนะคะ ที่เห็นการทำงานของพวกเรา
6. การทำงานที่มีการประสานกันดี ไว้วางใจซึ่งกันและกัน จะทำให้เรามีความสุข แม้จะทำงานเบื้องหลังก็ตาม
เครดิต ดร.อรพินท์ จิตตวิสุทธิกุล